ที่มาภาพ : http://fanthai.com/?p=73364
ระบบการร้องทุกข์สมัยอยุธยา
ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยา
ที่มาภาพ : https://my.dek-d.com/ammiko555/writer/viewlongc.php?id=774170&chapter=7
ที่มาภาพ : http://vanisha1605.blogspot.com/
ที่มาภาพ : http://lao-online.com/Books/details/664
สมัยนี้ปรากฏร่องรอยการรับอิทธิพลวัฒนธรรมอินเดียค่อนข้างชัดเจน รวมทั้งกฎหมาย กฎหมายแม่บทในสมัยอยุธยาคือ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ มีที่มาจากอินเดียตามความเชื่อในศาสนาฮินดู โดยอยุธยารับผ่านมาทางมอญ ซึ่งนับถือศาสนาพุทธเช่นเดียวกัน คัมภีร์พระธรรมศาสตร์นี้คงเข้ามาสู่ดินแดนไทย ตั้งแต่ครั้งสุโขทัยแต่หลักฐานการนำมาใช้ปรากฏชัดเจนสมัยอยุธยา
หลักการใหญ่ในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดมูลคดีเป็น 2 ประเภท คือ มูลคดีแห่งผู้พิพากษาและตระลาการ 10 ประการ เป็นกฎหมายแม่ บทเกี่ยวกับอำนาจศาลและวิธีพิจารณาความ มูลคดีวิวาท 2 ประการ เป็นกฎหมายแม่บทที่กำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลที่เกิดกรณีพิพาทต่อ กัน รวมเป็นมูลคดีทั้งสิ้น 39 ประการ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์กำหนดให้พระมหากษัตริย์นำมูลคดีทั้ง 39 ประการเป็นหลักในการบัญญัติสาขาคดีต่างๆ โดยสาขาคดีที่บัญญัติขึ้นนี้ต้องไม่ขัดแย้งกับหลักการในคัมภีร์พระธรรมศาสตร์
กฎหมายในสมัยอยุธยายังจำแนกกฎเกณฑ์เป็นพระไอยการหรือพระอัยการเฉพาะเรื่อง เช่น พระอัยการลักษณะผัวเมีย พระอัยการลักษณะวิวาทตีด่ากัน พระอัยการในสมัยอยุธยา หมายถึงกฎหมายพื้นฐานของแผ่นดิน ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตามและหากมีปัญหาเกี่ยวกับพระอัยการ พระมหากษัตริย์ซึ่งมีหน้าที่ให้ความยุติธรรมจะต้องมีพระราชวินิจฉัย พระราชวินิจฉัยในแต่ละคดีเรียกว่า “พระราชบัญญัติ” พระราชบัญญัติ แต่ละมาตราจะอ้างมูลคดีเดิมเสมอ โดยทั่วไปพระราชบัญญัตินี้ใช้รัชกาลเดียวเท่านั้น ถ้าสิ้นรัชกาลพระราชบัญญัติก็เลิกไป แต่ถ้ากษัตริย์องค์ใหม่นำมาใช้ต่อก็จะเรียกใหม่ว่า “พระราชกำหนด”
ตัวอย่างเนื้อหาพระอัยการลักษณะผัวเมียและพระอัยการลักษณะ
วิวาทตีด่ากัน
“มาตราหนึ่ง ผู้ใดไปการณรงคสงครามก็ดี โดยเสด็จพระผู้เป็นเจ้าก็ดี ไปราชการก็ดี อยู่พายหลังมีผู้มาทำชู้ด้วยเมียท่านไซ้ ให้ไหมทวีคูน”
“มาตราหนึ่ง คนทั้งหลายมีครรภก็ดี สัตว์เลี้ยงมีครรภก็ดี มีผู้ตีฟันแทงให้ตายไซ้ ท่านให้พิกัดค่าแม่มันเท่าใด ใช้ค่าลูกในท้องกึ่งค่า แม่มัน ด้วย แลจบาทไหมนั้นให้ไหมโดยพระราชกฤษฎีกา”
“มาตราหนึ่ง วิวาทร้องด่าเถียงกัน ผู้ใดออกไปจากที่แดนตน รุกเข้าไปถึงที่แดนท่านด่าตีกันไซ้ ท่านว่าผู้นั้นรุก ให้ไหมโดยพระราชกฤษฎีกา”
1) พระราชศาสตร์ ตราขึ้นโดยใช้พระธรรมศาสตร์เป็นหลัก พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจในการตราพระราชศาสตร์ เพื่อให้เหมาะสมกับประเพณีปฏิบัติและสถานการณ์ที่แตกต่างในแต่ละสมัย
1.1) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้นำในการปกครองและรักษากฎหมาย แรกเริ่มเดิมทีเมื่อมนุษย์ได้เริ่มรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เป็นชุมชน มนุษย์มีความต้องการผู้นำ เพื่อให้เป็นผู้ใช้อำนาจในการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย แก้ปัญหาการวิวาททะเลาะโต้เถียงกัน ลงโทษผู้ที่ข่มเหงรังแกคนอื่น และออกกฎกติกาขึ้นควบคุมการกระทำผิดในชุมชน ครั้นเมื่อชุมชนเจริญขยายตัวเป็นแคว้นหรืออาณาจักร ความต้องการของประชาชนในลักษณะเช่นนี้ยังมีอยู่ต่อมา ด้วยเหตุนี้หน้าที่หลักของพระมหากษัตริย์ในยามสงบ คือ ทรงเป็นผู้นำในการปกครองดูแลความสงบเรียบร้อยในพระราชอาณาจักร ปราบปรามโจรผู้ร้ายป้องกันประชาชนมิให้ถูกข่มเหงจากเจ้านาย และขุนนางที่มีอำนาจ และดูแลให้มีความยุติธรรมตามแนวทางของกฎหมาย ธรรมศาสตร์เป็นกฎหมายหลัก และสำคัญที่สุดของสมัยกรุงศรีอยุธยา และเชื่อกันว่าเป็นกฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์มิใช่ผู้ตราคัมภีร์ธรรมศาสตร์ แต่เชื่อกันว่าคัมภีร์ธรรมศาสตร์นี้ พระมะโนสารฤาษี หรือมนูสาร ผู้สืบเชื้อสายมาจากท้าวมหาพรหมเป็นผู้ไปได้มาจากกำแพงจักรวาลในสมัยที่อายุของมนุษย์ได้ “อสงไชย” หนึ่ง พระมะโนสาร จึงพยายามจดจำคัมภีร์นั้นจนครบถ้วน และเหาะกลับมาเขียนคัมภีร์ธรรมศาสตร์ตามที่จดจำขึ้นไว้เป็นหลักให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติในการปกครองประเทศ คัมภีร์ธรรมศาสตร์จึงนิยมเรียกว่า คัมภีร์พระมนูธรรมศาสตร์ และคัมภีร์ธรรมศาสตร์นี้ได้บัญญัติหลักธรรมสำหรับพระมหากษัตริย์ไว้ ตลอดจนหลักการพิพากษาคดีต่าง ๆ และลักษณะของผู้พิพากษาไว้ด้วย สำหรับอาณาจักรอยุธยานั้นพระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่ดูแลให้การปกครองและตัดสินคดีไปตามพระธรรมศาสตร์ ด้วยเหตุนี้นักวิชาการกฎหมายจึงให้ความเห็นว่าหน้าที่หลักของพระมหากษัตริย์แต่แรก นั่นคือ ทรงเป็นผู้รักษากฎหมายอันศักดิ์สิทธิ์ แต่มิได้เป็นผู้ออกกฎหมาย
1.2) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมาย ความจริงแล้วพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้ตรากฎหมายขึ้นด้วย ทั้งนี้เพราะสถานการณ์ในอาณาจักรอยุธยาย่อมต้องแตกต่างไปจากความเป็นไปของอาณาจักรอื่น ๆ เช่น อินเดียโบราณ หรือมอญโบราณ หากมีกรณีที่มิได้มีข้อตัดสินระบุไว้ในพระธรรมศาสตร์ต้องอาศัยพระราชวินิจฉัยของพระมหากษัตริย์เป็นทางตัดสินและพระราชวินิจฉัยนี้คือ กฎหมาย พระราชวินิจฉัย หรือคำตัดสินของพระมหากษัตริย์ปรากฏในชื่อว่าพระราชกำหนดและพระราชบัญญัติ โดยเรียกรวมกันว่า พระราชศาสตร์ เพื่อมิให้บทบาทของพระมหากษัตริย์ขัดแย้งกับแนวทางแต่โบราณ คือเป็นผู้รักษากฎหมาย มิใช่เป็นผู้ออกกฎหมาย และเพื่อให้พระราชศาสตร์มีอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ พระมหากษัตริย์จึงทรงออกพระราชศาสตร์โดยอิงตัวบทในพระธรรมศาสตร์
1.3) พระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้พิพากษาสูงสุดและทรงรับฎีกาจากประชาชน พระมหากษัตริย์ทรงมีหน้าที่วินิจฉัยคดีที่ผู้พิพากษาไม่สามารถตัดสินได้ แต่หน้าที่สำคัญอีกประการหนึ่งของพระมหากษัตริย์คือ พระองค์ทรงเป็นผู้พิพากษาสูงสุดของอาณาจักร หลักฐานมากมายในประวัติศาสตร์ระบุว่า พระมหากษัตริย์ทรงทำหน้าที่ผู้พิพากษาสูงสุดเมื่อบรรดาลูกขุนไม่สามารถตัดสินคดีนั้นได้ หรือเมื่อมีปัญหาทำให้ตัดสินคดีล่าช้าหรือประชาชนไม่พอใจคำพิพากษา เพราะเห็นว่าไม่ยุตธรรม บรรดาลูกขุน ขุนนาง หรือประชาชนก็นำเรื่องขึ้นกราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงตัดสิน หากเป็นเรื่องที่ประชาชนนำขึ้นร้องเรียนเรียกว่า “ฎีกา” โดยมีตัวอย่างจากกฎหมายตราสามดวงดังนี้
ในพระไอยการลักษณะตระลาการซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ มีข้อความตอนหนึ่งระบุว่า ให้เจ้าหน้าที่ในตำแหน่ง “นายมหาดไทย” ตรวจดูความทุกกรมกองปีละ ๓ ครั้ง เพื่อดูว่ามีความคั่งค้างอยู่หรือไม่ ถ้ามีความใดมีปัญหาตัดสินไม่ได้ ให้ประชุมเสนาบดีจตุสดมภ์ช่วยกันพิจารณาก่อน ถ้าไม่สำเร็จจึงให้กราบบังคมทูลให้พระมหากษัตริย์ทรงตัดสินดังนี้
“อนึ่ง ถ้าความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับบัญชายากไซร้ ให้ขุนกาลชุมนุมจตุสดมภ์ให้ช่วยว่า ถ้าพิพากษามิได้ ให้เอากราบบังคมทูลพระพุทธเจ้าอยู่หัวจะตรัสเอง”
ส่วนหลักฐานเรื่องการรับฎีกาจากประชาชนนั้น ปรากฏว่าราษฎรไม่พอใจการสอบสวนคดีของตระลาการ สามารถทำหนังสือฎีกาขึ้นกราบทูลพระมหากษัตริย์ได้ และพระมหากษัตริย์ทรงพิจารณามอบหมายให้ราชการที่ทรงไว้พระทัยเป็นผู้สอบสวนตระลาการนั้น”
หากประชาชนมีเรื่องเดือดร้อนประการใด แม้ได้ทำเรื่องร้องเรียนมูลนายที่บังคับบัญชาแล้วมูลนายมิเอาธุระ ประชาชนสามารถร้องเรียนสูงขึ้นไปยังลูกขุน ณ ศาลา คือ พวกเสนาบดีได้หากลูกขุน ณ ศาลาไม่รับเอาธุระ ก็ให้ทำฎีกาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ได้ในที่สุด
ครั้นถึงรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ พระองค์ได้ทรงกำหนดลักษณะฎีกาของราษฎรที่จะนำถวายต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง หรือจะให้นำไปให้กรมกองต่าง ๆ พิจารณาการคัดเลือกฎีกานี้ให้เป็นหน้าที่ของสมุหนายก และสมุหกลาโหม สุดแล้วแต่ว่าฎีกานั้นมาจากประชาชนที่เป็นฝ่ายพลเรือนหรือทหาร สำหรับฎีกาที่สามารถนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ได้มีดังนี้คือ เรื่อง
“....ผู้คัดมิชอบแล้วกระทำร้ายแก่แผ่นดินให้จลาจลก็ดี แลลักเอาพระราชทรัพย์ของหลวงก็ดี แลบังช้างม้าผู้คนไร่นา อากอรซึ่งเป็นหลวงนั้นไว้เป็นอนาประโยชน์อาตมาก็ดี เบียดบังสารบาญชีไพร่หลวงแลสังกัดพ้นไว้ก็ดี แลอนึ่งไปครองเมืองแลรั้งเมือง แลทำข่มเหงกันโชกราษฎรไพร่เมืองให้แตกฉานซ่านเซนหนีไปก็ดี อนึ่ง ลูกขุนพิพากษาอรรถคดีแลมี (มิ) เตมใจในความพิพากษาก็ดี อนึ่งไปราชการก็ดี ไปด้วยกิจตนเองก็ดี แลทำการรุกราชบาท และทำกันโชกราษฎรทั้งปวงก็ดี...”
หากร้องเรียนข้อความดังกล่าวข้างต้น ก็ให้นำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระมหากษัตริย์ได้ แต่หากเป็นความชนิดอื่น ๆ เช่น ความมรดก คดีแพ่ง คดีอาญา โดยทั่วไป เป็นต้น ให้ทำเรื่องเสนอกรมกองที่มีหน้าที่พิจารณาคดีนั้น อำนาจในการสั่งลงโทษผู้มีความผิดถึงขั้นประหารชีวิต เป็นสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว แต่พระมหากษัตริย์อาจทรงมอบหมายอำนาจนี้ให้แก่ข้าราชการเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ไปได้โดยเรียบร้อยในบางกรณี เช่น ทรงมอบให้แม่ทัพในยามสงคราม เป็นต้น
2) การศาล
วิธีการพิจารณาและพิพากษาคดีในสมัยกรุงศรีอยุธยาคงถือประเพณีโบราณว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้พิพากษาสูงสุด แต่ใช้วิธีที่เอาแบบอบย่างของอินเดียมาผสมกับแบบไทย ซึ่งแตกต่างไปจากประเทศอื่น โดยแยกหน้าที่ออกเป็น ๒ ฝ่าย และใช้บุคคล ๒ ประเภทเป็นพนักงานตุลาการ ประเภทที่หนึ่ง เป็นพราหมณ์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวงมี ๑๒ คน หัวหน้าคือ พระมหาราชครูปุโรหิต และพระมหาราชครูมหิธร โดยถือศักดินาเทียบเจ้าพระยา หน้าที่ของลูกขุน ณ ศาลหลวง คือ ตรวจสำนวนชี้ตัวบทกฎหมาย แล้วตัดสินว่าฝ่ายใดผิดหรือชอบ แต่มิได้มีอำนาจในการบังคับบัญชาคดีในโรงศาล ประเภทที่สอง เป็นพนักงานที่เป็นคนไทย เรียกว่า ตุลาการ เป็นผู้บังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมายที่ลูกขุน ณ ศาลหลวงได้กำหนดไว้ ในกรณีที่คู่ความคนใดไม่พอใจในคำพิพากษาอาจถวายฏีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ แต่การถวายฎีกาก็ทำได้ไม่ง่ายนัก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ถวายฎีกาพร่ำเพรื่อจนเกินไป
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยกศาลจากกรมลูกขุนออกไปให้กรมต่าง ๆ รับผิดชอบ คงไว้แต่ศาลแพ่งกลางและศาลแพ่งเกษม ซึ่งรับผิดชอบ แต่ความแห่งคดีความที่ไม่สำคัญ ส่วนคดีความที่สำคัญ ๆ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรได้ยุติคดีความโดยเร็วกว่าปกติ ก็ให้ยกไปไว้ในกรมต่าง ๆ หรือให้เสนาบดีดูแลรับผิดชอบกรมนั้น ๆ ได้เร่งรัดควบคุมให้การพิจารณาคดีความเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ระเบียบการศาลดังกล่าวนี้ได้ใช้ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้มีการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลของไทยตามแบบประเทศตะวันตก
3) กระบวนการยุติธรรม
เดิมทีนั้นสังคมไทยใช้จารีตประเพณีส่วนใหญ่เป็นกฎเกณฑ์ข้อบังคับในชุมชนสืบต่อกันมา ทางกรุงศรีอยุธยาเพิ่มมีกฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรใช้อย่างเป็นหลักฐานในภายหลังกฎหมายของกรุงศรีอยุธยามีที่มาและจำแนกได้ดังนี้
3.1) คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์หรือมูลคดีเป็นกฎหมายแม่บทที่ใช้เป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายย่อยขึ้นบังคับใช้ ไทยได้แบบอย่างกฎหมายนี้มาจากคัมภีร์ธรรมสัตถัมของมอญ และมอญเองก็ได้ดัดแปลงคัมภีร์ดังกล่าวนี้มาจากคัมภีร์มนูธรรมศาสตร์ของอินเดียอีกต่อหนึ่ง โดยตัดตอนเอาส่วนที่เป็นศาสนา
พราหมณ์ – ฮินดูออกคงเหลือไว้เฉพาะส่วนที่เป็นกฎหมายแท้ ๆ ไว้
3.2) พระราชศาสตร์ พระราชศาสตร์หรือสาขาคดีเป็นกฎหมายย่อยที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นใช้ในรูปพระราชกำหนด บทพระอัยการและพระราชบัญญัติ
4) บุคคลที่ทำหน้าที่พิจารณาและตัดสินคดี ประกอบด้วย
1. ตระลาการ เป็นเจ้าของกระทรวงความ (อำนาจในการพิจารณาคดี) ทำหน้าที่สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานและข้อเท็จจริงทั้งหมด แล้วส่งสำนวนให้ผู้พิพากษา การสืบพยานจะไปสืบที่บ้านพยาน ไม่ใช่มาที่ศาล
2. ผู้พิพากษา ทำหน้าที่ชี้ข้อกฎหมายส่งให้ลูกขุน (ลูกขุนในความหมายเดิม หมายถึง ข้าราชการทั่วไป)
3. ลูกขุน ผู้ชี้ขาดว่าฝ่ายใดชนะคดีและฝ่ายใดแพ้คดี
4. ผู้ปรับ ทำหน้าที่กำหนดโทษหรือคำนวณเงินค่าสินไหมที่ผู้แพ้จะต้องเสีย
5. พะทำมะรง ทำหน้าที่คอยตรวจตรามิให้ลูกความหลบหนี และมีหน้าที่สอบสวนข้อเท็จจริงและตรวจพิสูจน์บาดแผลกรณีที่เกิดคดีทำร้าย ร่างกายกัน รวมทั้งการไปดูที่เกิดเหตุกรณีทำร้ายกันจนเสียชีวิตด้วย
5) การเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม มีดังนี้
1. โจทก์ประสงค์จะฟ้องความต้องไปร้องต่อว่าศาล
2. จ่าศาลจดถ้อยคำเป็นหนังสือมอบให้พนักงานประทับฟ้อง
3. พนักงานประทับฟ้องนำฟ้องปรึกษาลูกขุน ณ ศาลหลวง เพื่อ
ตรวจและรับรองว่าฟ้องที่ถูกต้องและเป็นศาลกระทรวงใดพิจารณาคดีดังกล่าว
4. ส่งฟ้องกับตัวโจทก์ไปศาลกระทรวงนั้น
5. ตระลาการศาลนั้น หมายเรียกจำเลยมาถามคำให้การแล้วส่งคำฟ้อง/ คำให้การไปปรึกษาลูกขุนให้ชี้สองสถาน
6. ลูกขุนตรวจคำฟ้อง/ คำให้การแล้วชี้สองสถานคือว่าข้อใดรับกัน/ ข้อใดต้องสืบพยานส่งให้ตระลาการสืบพยานตามคำลูกขุน
7. ตระลาการสืบพยานเสร็จแล้วส่งสำนวนไปยังลูกขุน
8. ลูกขุนพิจารณาสำนวนอธิบายความผิด ชี้ข้อกฎหมายและชี้ว่าฝ่ายใด แพ้คดีเพราะเหตุใด
9. ตระลาการนำคำชี้ขาดของลูกขุนไปส่งยังผู้ปรับ
10. ผู้ปรับวางโทษตามกฎหมายให้เหมาะสมกับคดีนั้น
11. ส่งให้ตระลาการใช้บังคับ
12. คู่ความไม่พอใจการพิจารณาของตระลาการทำการอุทธรณ์ตระลาการ หรือถวายฎีกาต่อพระเจ้าอยู่หัว (การอุทธรณ์สมัยนี้มีความหมาย ต่างกับปัจจุบัน การอุทธรณ์สมัยก่อนเป็นเรื่องการพิพาทระหว่างคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกับผู้พิพากษาหรือตระลาการ เป็นการอุทธรณ์ในลักษณะ ฟ้องร้องกล่าวโทษผู้พิจารณาหรือส่งตัวตระลาการว่ากระทำผิดหน้าที่)
6) ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
ลักษณะการตั้งกฎหมายในตอนแรกๆ นั้นทำเป็นหมายประกาศอย่างละเอียด ขึ้นต้นบอกวัน เดือน ปี ที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ใครเป็นผู้กราบบังคมทูลคดีอันเป็นเหตุให้ตรากฎหมาย พระเจ้าแผ่นดินยืดยาวเกินไป จึงตัดข้อความที่ไม่ต้องการออก แต่ต่อๆ มา กฎหมายมีมากขึ้น ก็ยากแก่การค้นห้า จึงตัดข้อความลงอีก ซึ่งพราหมณ์ชาวอินเดียเป็นผู้นำมาสอนให้ทำ อนุโลมตามแบบพระมนูธรรมศาสตร์ อันเป็นหลักกฎหมายของอินเดีย เช่น ลักษณะโจร ลักษณะผัวเมีย
กฎหมายสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ในระหว่าง พ.ศ. 1894-1910 ได้มีการพิจารณาตรากฎหมายขึ้นทั้งหมด 10 ฉบับ คือ
1. กฎหมายลักษณะพยาน พ.ศ. 1894 2. กฎหมายลักษณะอาญาหลวง พ.ศ. 1895 3. กฎหมายลักษณะรับฟ้อง พ.ศ. 1899 4. กฎหมายลักษณะลักพา พ.ศ. 1899 5. กฎหมายลักษณะอาญาราษฎร์ พ.ศ. 1901 6. กฎหมายลักษณะโจร พ.ศ. 1903 7. กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จว่าด้วยที่ดิน พ.ศ. 1903 8. กฎหมายลักษณะผัวเมีย พ.ศ. 1904 9. กฎหมายลักษณะผัวเมีย (เพิ่มเติม) พ.ศ. 1905 10. กฎหมายลักษณะโจรว่าด้วยสมโจร พ.ศ. 1910
7) ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีกฎหมายใหม่หลายฉบับ บางฉบับก็ปรับปรุงจากของเก่า กฎหมายที่ตราขึ้นใหม่มีดังนี้
7.1) กฎหมายว่าด้วยการเทียบศักดินา
จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เช่น ศิลาจารึกสุโขทัย และจดหมายเหตุของจีน ทำให้เราทราบว่า ศักดินาไม่ได้มีเมื่อสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ได้มีมานานแล้ว เป็นเพียงแต่พระองค์ได้ทรงวางหลักเกณฑ์และปรับปรุงใหม่เท่านั้น
ในสมัยก่อน ถือว่า พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั่วราช
อาณาจักร ข้าราชการและพระบรมวงศานุวงศ์ ยังไม่มีเงินเดือน เงินปีอย่างสมัยนี้ จึงใช้วิธีพระราชทานที่ดินให้มากน้อยตามฐานะแต่ความเป็นจริง แล้วก็ไม่ได้มีที่ดินไว้ในครอบครองตามที่กำหนด แต่อย่างไรก็ตาม ศักดินาเป็นเครื่องกำหนดชั้นฐานะของบุคคลและยังมีผลในทางด้านอื่นๆ ด้วยเช่น
7.1.1) การปรับไหม ผู้ที่ทำผิดอย่างเดียวกัน ถ้ามีศักดินาสูงกว่า จะเสียค่าปรับมากกว่ามีศักดินาต่ำกว่า หรือการปรับไหมให้แก่กันในคดีเดียวกัน ถ้าไพร่ผิดต่อไพร่ จะเสียค่าปรับตามศักดินาไพร่ ถ้าไพร่ทำผิดต่อขุนนาง ให้เอาศักดินาขุนนางมาปรับไพร่ ถ้าขุนนางผิดต่อไพร่ ให้ปรับตามศักดินาของขุนนาง
7.1.2) การตั้งทนาย ผู้ที่มีศักดินา ๔๐๐ ไร่ ขึ้นไป จะแต่งตั้งทนายว่าความแทนตนเองได้
7.1.3) กำหนดที่นั่งในการเฝ้า เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกว่าราชการแผ่นดิน ผู้มีศักดินา ๑๐,๐๐๐ ถึง ๘๐๐ ต้องเข้าเฝ้า นอกนั้นไม่บังคับ ตำแหน่งที่นั่งจะสูงต่ำ ใกล้หรือไกลให้จัดตามศักดินา พอสรุปได้ว่า ศักดินา หมายถึง เกณฑ์ตามพระราชกำหนดที่กำหนดว่า บุคคลนั้นจะมีกรรมสิทธิ์ในที่นามากน้อยเพียงใด ระเบียบตำแหน่งยศศักดินาของข้าราชการ มีดังนี้
1. ยศ ได้แก่ เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน
2. ราชทินนาม ได้แก่ ยมราช สีหราชเดโชชัย ฯลฯ
3. ตำแหน่ง ได้แก่สมุหกลาโหม สมุหนายก เสนาบดี ฯลฯ
4. ศักดินา ได้แก่ เกณฑ์กำหนดสิทธิ์ที่นาตามยศแต่ละบุคคล
7.2) กฎหมายลักษณะอาญาขบถศึก
ตัวอย่างความบางตอนเกี่ยวกับลักษณะอาญาขบถศึก
มาตรา ๑ ผู้ใดใฝ่สูงให้เกินศักดิ์มักขบถประทุษร้าย จะต่ำพระองค์ลงมาดำภูฉัตร อนึ่งทำร้ายพระองค์ด้วย โหรายาพิษ แลด้วยเครื่องศาสตราสรรพยุทธให้ถึงสิ้นพระชนม์ อนึ่งพระเจ้าอยู่หัวให้ผู้ใดไปรั้งเมืองครองเมืองและมิได้เอาสุพรรณบุปผาและ ภัทยาเข้ามาบังคมถวายแลแข็งเมือง อนึ่งผู้ใดเอาใจเผื่อแผ่ศึกศัตรูนัดแนะให้ยกเข้ามาเบียดเบียนพระนคร ขอบขัณฑเสมาธานีน้อยใหญ่ อนึ่งผู้ใดเอากิจการบ้านเมืองแจ้งให้ข้าศึก ถ้าผู้ใดกระทำดังกล่าวนี้ โทษผู้นั้นเป็นอุกฤษฏ์ ๓ สถาน
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ ฆ่าเสียให้สิ้นทั้งโคตร
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ ฆ่าเสีย เจ็ดโคตร
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ แล้วให้ฆ่าเสียโคตรนั้นอย่าเลี้ยงต่อไปอีกเลย
เมื่อประหารชีวิตนั้น ให้ประหารให้ได้ ๗ วัน จึงสิ้นชีวิต เมื่อประหารนั้นอย่าให้โลหิตและศพตกลงในแผ่นดินท่าน ให้ใส่แพลอยเสียตามกระแสน้ำ
7.3) กฎหมายลักษณะอาญาหลวง
ตัวอย่างความบางตอนเกี่ยวกับกฎหมายลักษณะอาญาหลวง
มาตรา ๑ ผู้ใดโลภนักมักทำใจใหญ่ใฝ่สูงให้เกินศักดิ์ กระทำให้ล้นพ้น
ล้ำเหลือบรรดาศักดิ์ อันท่านไม่ให้แก่ตน แลจำพระราชนิยมพระเจ้าอยู่หัว แลถ้อยคำมิควรเจรจา มาเจรจาเข้าในระหว่างราชาศัพท์ แลสิ่งที่มิควรเอามาประดับ เอามาทำเป็นเครื่องประดับท่านว่าผู้นั้นทะนงองอาจ ให้ลงโทษ ๘ สถาน
สถานหนึ่ง ให้ฟันคอริบเรือน
สถานหนึ่ง ให้เอามะพร้าวห้าวยัดปาก
สถานหนึ่ง ให้ริบราชบาทย์ แล้วเอาตัวลงหญ้าช้าง
สถานหนึ่ง ให้ไหมจตุรคูณเอาตัวออกจากราชการ
สถานหนึ่ง ให้ไหมทวีคูณ
สถานหนึ่ง ให้ทวนด้วยลวดหนัง ๕๐ ที ๒๕ ที ใส่กรุไว้
สถานหนึ่ง ให้จำแล้วถอดเสียเป็นไพร่ สถานหนึ่ง ให้ภาคทัณฑ์ไว้
7.4) กฎหมายว่าด้วยกฎมณเฑียรบาล
กฎมณเฑียรบาล หมายถึง พระราชกำหนดที่ใช้ภายในพระราชสำนัก แบ่งเป็น ๓ แผนก
7.4.1) แผนกพระตำรา หมายถึง พระตำราที่ว่าด้วยแบบแผน พระราชานุกิจ ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติปฏิบัติตามกำหนด
7.4.2) แผนกพระธรรมนูญ หมายถึง แผนกที่ว่าด้วยตำแหน่งหน้าที่ข้าราชการ ตลอดถึงการจัดตำแหน่งต่างๆ ของพระราชวงศ์
7.4.3) แผนกพระราชกำหนด เป็นบทบัญญัติสำหรับใช้ในพระราชสำนัก รวมทั้งข้อบังคับว่าด้วยระเบียบการปกครองในราชสำนัก ซึ่งมีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายด้วย เช่น
- วิวาทถกเถียงกันในวัง มีโทษให้จำใส่ชื่อไว้ ๓ วัน
- ด่ากันในวัง มีโทษให้ตีด้วยหวาย ๕๐ ที
- ถีบประตูวัง มีโทษให้ตัดเท้า
- กินเหล้าในวัง มีโทษให้เอาเหล้าร้อนๆ กรอกปาก
8) ระบบกฎหมายสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยา
กฎหมายในสมัยพระเพทราชาถึงสิ้นกรุงศรีอยุธยานั้น เป็นกฎหมายที่ปรับปรุงเพิ่มเติมจากกฎหมายสมัยพระเจ้าอู่ทองบ้าง ตราขึ้นใหม่บ้าง เช่น
- กฎหมายลักษณะพิสูจน์ สมัยพระไชยราชา พ.ศ. ๒๐๗๘
- กฎหมายเพิ่มเติมลักษณะอาญาหลวง สมัยพระมหาจักรพรรดิ พ.ศ. ๒๐๙๓
- กฎหมายพิกัดเกษียณอายุ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๖
- กฎหมายลักษณะอุทธรณ์ สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๘
- กฎหมายพระธรรมนูญตรากระทรวง สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๗๘
- กฎหมายลักษณะทาส สมัยพระเจ้าปราสาททอง พ.ศ. ๒๑๘๐
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 1 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เป็นช่วงของการฟื้นฟูบูรณะบ้านเมืองให้กลับสู่สภาพเดิมเหมือนสมัยอยุธยาก่อนเสียกรุงครั้งที่ 2 ซึ่งในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนี้มีการจัดการปกครองตามแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยยังคงใช้ตามแบบกรุงศรีอยุธยาคือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดี 2 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายทหาร และ ฝ่ายพลเรือน
กฎหมายและการศาลไทย
ที่มาภาพ : http://lao-online.com/Books/details/664
ที่มาภาพ : http://vanisha1605.blogspot.com/
ที่มาภาพ : https://my.dek-d.com/ammiko555/writer/viewlongc.php?id=774170&chapter=7
กฎหมายไทยนั้นได้รับอิทธิพลมาจากอินเดียที่เรียกว่า คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ หรือคัมภีร์ธรรมสัตถัมของอินเดีย ซึ่งไทยได้รับการถ่ายทอดมาจากมอญอีกต่อหนึ่ง ในการตัดสินคดีความนั้นจะมีพราหมณ์ ที่เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง จำนวน 12 คนไปผู้ชี้ตัวบทกฎหมายว่าใครผิดใครถูก จากนั้นจึงส่งเรื่องไปให้ตุลาการบังคับคดี หรือ ลงโทษผู้กระทำผิดตามที่ลูกขุนตัดสิน
พระธรรมศาสตร์ เป็นบทบัญญัติที่ว่าด้วยสิทธิหน้าที่ของบุคคลทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งเทียบได้กับกฎหมายแม่บทของไทยในปัจจุบันคือ กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กฎหมายที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการปกครองประเทศอีกประเภทหนึ่งคือ พระราชศาสตร์ เป็นพระราชวินิจฉัยในอรรถคดีต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ เป็นบทบัญญัติปลีกย่อย จากพระธรรมศาสตร์ เรียกว่า สาขาคดี
ในการไต่สวนพิจารณาคดีในสมัยโบราณ เนื่องจากยังขาดความรู้ในเรื่องการสอบสวน จึงนิยมใช้วิธีการแบบจารีตนครบาล โดยการทรมานผู้ต้องหาให้รับสารภาพ เช่น ตอกเล็บ เฆี่ยนตี ลุยเพลิง เสี่ยงเทียน บีบขมับ
การแก้ไขกฎหมาย ในปี พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ชำระกฎหมาย อันเนื่องมาจาก อำแดงป้อมฟ้องหย่า นายบุญศรีผู้เป็นสามี มีอาชีพเป็นช่างเหล็กหลวง ซึ่งอำแดงป้อมมีชู้ แต่กลับมาฟ้องหย่าสามี ในสมัยนั้นถ้าภรรยาฟ้องหย่าตามกฎหมายภรรยาจะได้ทรัพย์สินก่อนแต่งงานเป็นของตน โดยอาศัยการพิจารณาคดีตามบทกฎหมายที่มีความว่า
“ชายหาผิดมิได้ หญิงขอหย่า ท่านว่าเป็นหญิงหย่าชาย หย่าได้”
เมื่อผลคดีเป็นเช่นนี้ นายบุญศรีจึงได้นำเรื่องขึ้นทูลเกล้าถวายฎีกาต่อพระเจ้าแผ่นดิน พระองค์ทรงเห็นด้วยกับฎีกาว่าคำพิพากษาของศาลนั้นขัดหลักความยุติธรรม รัชกาลที่ 1 เห็นว่าไม่ถูกต้อง จึงโปรดให้ชำระกฎหมายใหม่ ร่วมกันชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการในแผ่นดิน ตั้งแต่พระธรรมศาสตร์ลงมา โดยจัดเป็นหมวดหมู่และปรับปรุงให้ยุติธรรมยิ่งขึ้น เมื่อชำระเสร็จ เรียบร้อยแล้ว ได้โปรดให้อาลักษณ์คัดลอกไว้รวม 3 ชุด โดยเก็บรักษาไว้ที่ห้องเครื่องชุดหนึ่ง หอหลวงชุดหนึ่ง ศาลหลวงชุดหนึ่ง โดยให้ประทับตราพระราชสีห์ พระคชสีห์ และตราบัวแก้ว ไว้เป็นสำคัญทุกเล่ม ด้วยเหตุนี้ จึงเรียกว่ากฎหมายตราสามดวง หรือ ประมวลกฎหมายรัชกาลที่ 1
ที่มาภาพ : http://vanisha1605.blogspot.com/
กฎหมายตราสามดวงนี้ ได้ใช้อาลักษณ์หลายท่านเขียนขึ้นโดยแยกเป็น “ฉบับหลวง” และ “ฉบับรองทรง” โดยสันนิษฐานว่า สำหรับฉบับหลวง ชุดหนึ่งเป็นสมุดไทย 41 เล่ม เมื่อรวม 3 ชุด จึงมีทั้งสิ้น 123 เล่ม แต่เท่าที่พบ ในปัจจุบันเหลืออยู่เพียง 79 เล่ม โดยเก็บไว้ที่กระทรวงยุติธรรม 37 เล่ม และที่หอสมุดแห่งชาติ 41 เล่ม ส่วนอีก 44 เล่ม ไม่ทราบว่าขาดหายไปด้วยประการใด ส่วน ฉบับรองทรง นั้น ก็คือ กฎหมายตราสามดวงที่อาลักษณ์ชุดเดียวกับที่เขียนฉบับหลวง ได้เขียนขึ้น โดยเขียนในเวลาไล่เลี่ยกัน โดยฉบับหลวง เขียนในปีฉลู จ.ศ.1167 (พ.ศ. 2348) ส่วนฉบับรองทรงเขียนขึ้นในปีเถาะ จ.ศ. 1169 (พ.ศ. 2350) ข้อแตกต่างระหว่าง ฉบับหลวง และฉบับรองทรง ก็คือ ฉบับรองทรงจะไม่มีตราสามดวงประทับไว้ และฉบับหลวงจะมีอาลักษณ์สอบทาน 3 คนส่วนฉบับรองทรงมีอาลักษณ์สอบทานเพียง 2 คน สำหรับกฎหมายตราสามดวง ฉบับรองทรงนี้ ปัจจุบันนี้พบเพียง 18 เล่ม โดยเก็บรักษาไว้ที่ หอสมุดแห่งชาติ 17 เล่มและที่พิพิธภัณฑ์อัยการไทย สำนักงานอัยการสูงสุด 1 เล่ม ซึ่งกฎหมายตราสามดวงนี้ได้ใช้มาอย่างยาวนานจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) รวมระยะเวลา 131 ปี
วิธีการพิจารณาและพิพากษาคดี
ระเบียบการศาลที่จะกล่าวดังนี้ได้ใช้ปฏิบัติกันเรื่อยมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โบราณว่า พระมหากษัตริย์เป็นผู้พิพากษาสูงสุด แต่ใช้วิธีที่เอาแบบอบย่างของอินเดียมาผสมกับแบบไทย ซึ่งแตกต่างไปจากประเทศอื่น โดยแยกหน้าที่ออกเป็น ๒ ฝ่าย และใช้บุคคล ๒ ประเภทเป็นพนักงานตุลาการ ประเภทที่หนึ่ง เป็นพราหมณ์ซึ่งเชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ เรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวงมี ๑๒ คน หัวหน้าคือ พระมหาราชครูปุโรหิต และพระมหาราชครูมหิธร โดยถือศักดินาเทียบเจ้าพระยา หน้าที่ของลูกขุน ณ ศาลหลวง คือ ตรวจสำนวนชี้ตัวบทกฎหมาย แล้วตัดสินว่าฝ่ายใดผิดหรือชอบ แต่มิได้มีอำนาจในการบังคับบัญชาคดีในโรงศาล ประเภทที่สอง เป็นพนักงานที่เป็นคนไทย เรียกว่า ตุลาการ เป็นผู้บังคับคดีให้เป็นไปตามกฎหมายที่ลูกขุน ณ ศาลหลวงได้กำหนดไว้ ในกรณีที่คู่ความคนใดไม่พอใจในคำพิพากษาอาจถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ได้ แต่การถวายฎีกาก็ทำได้ไม่ง่ายนัก ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ถวายฎีกาพร่ำเพรื่อจนเกินไป
ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงพระกรุณา
โปรดเกล้าฯ ให้แยกศาลจากกรมลูกขุนออกไปให้กรมต่าง ๆ รับผิดชอบ คงไว้แต่ศาลแพ่งกลางและศาลแพ่งเกษม ซึ่งรับผิดชอบ แต่ความแห่งคดีความที่ไม่สำคัญ ส่วนคดีความที่สำคัญ ๆ ซึ่งมีพระราชประสงค์ให้ราษฎรได้ยุติคดีความโดยเร็วกว่าปกติ ก็ให้ยกไปไว้ในกรมต่าง ๆ หรือให้เสนาบดีดูแลรับผิดชอบกรมนั้น ๆ ได้เร่งรัดควบคุมให้การพิจารณาคดีความเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 2 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ที่มาภาพ : http://vanisha1605.blogspot.com/
ในสมัยรัชกาลที่ 2 ยังคงใช้กฎหมายตราสามดวงอยู่เช่นเดียวกับสมัยรัชกาลที่ 1 แต่จะทรงปรับปรุงและออกกฎหมายต่างๆที่สำคัญ ได้แก่ กฎหมายห้ามซื้อขายฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ สัญญาเกี่ยวกับการซื้อขายที่ดิน พินัยกรรม กฎหมายพระราชกำหนดสักเลก เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง 3 เดือน ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น และกฎหมายอาญาอื่น ๆ เช่น ความผิดเกี่ยวกับการลงโทษ ทั้งฝ่ายอาณาจักรและพุทธจักร และยังมีพระราชประสงค์ออกพระราชบัญญัติเรื่อง ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน กัด หรือทำการอื่นๆ เพื่อการพนัน
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังคงเป็นไปลักษณะเดิมทีมีมาแต่ครั้งสมัยพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ที่มีการปกครองส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกลองวินิจฉัยเภรี ขึ้นในวัง หากราษฎรผู้ใดได้รับความเดือดร้อนจะกราบบังคมทูล ก็ให้ไปตีกลองนั้น ตำรวจเวรที่ยังอยู่ก็จะนำความขึ้นกราบบังคมทูล เพื่อให้มีการชำระความกันต่อไป
ในรัชสมัยของพระองค์นั้น ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการสักและการลงทะเบียนราษฎรเพื่อเป็นกำลังรับใช้ชาติ ได้ตั้งเมืองขึ้นใหม่เพื่อสะดวกแก่การปกครอง
นอกจากนี้แล้วยังได้กำหนดกฎหมายใหม่ เช่นกฎหมายโจรห้าเส้น มีหลักการว่าหากมีคดีอาญาปล้นสะดมเกิดที่ใด ราษฎรผู้เป็นเพื่อนบ้านมีหน้าที่ต้อง ช่วยกันติดตามจับกุมผู้ร้ายได้ถือเอาเขตรังวัด ๕ เส้น โดยรอบจากบ้านที่เกิดเหตุ คนร้ายที่สามารถจับกุมได้ก็มิได้มีการลงอาญาโดยทารุณ แต่กลับทรงชี้ให้เห็น บาปบุญคุณโทษ โดยทรงพระกรุณาเรียบเรียงบท พระราชนิพนธ์ไว้และพระราชนิพนธ์นี้ นักอาชญาวิทยา รุ่นปัจจุบันอ่านแล้วก็ต้องยกมือขึ้นถวายบังคมเหนือ เศียรเกล้า เพราะทรงชี้แจงโทษของการประพฤติ ทุจริตไว้อย่างละเอียดลออ และกระจ่างแจ้งยิงนัก รัฐบาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลท่ี ๓ ต้องปราบทั้งฝิ่น ปราบทั้งอั้งยี่ (คนจีนที่ค้าฝิ่นและตั้งเป็นสมาคม) หลายครั้งหลายหน ทรงปราบอย่างจริงจัง และมีพระราชประสงค์แน่วแน่ที่จะปราบฝิ่นให้สิ้นไปจากแผ่นดินไทย เพราะไม่ต้องพระประสงค์จะเห็น คนไทยขี้เกียจ ไม่มีคุณภาพเพราะมีผู้ติดฝิ่นนั่นเอง
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่ออาณา ประชาราษฎร พระองค์ทรงส่งเสริมศีลธรรม ได้ทรง ออกกฎหมายในเรื่องการพนัน ตามหลักธรรม ในพระศาสนา เช่น การเลี้ยงปลากัด และไก่ชน ด้วยทรงเห็นว่าเป็นการพนัน มีแต่โทษสถานเดียว เป็นเหตุให้มีการตีชิงวิ่งราวตามมาไม่ขาด นอกจากนี้ ยังได้ตั้งโรงทานตลอดรัชกาลด้วย
การร้องทุกข์
ที่มาภาพ : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=littlebylittle&group=5&month=05-2013&date=22
ที่มาภาพ : http://www.u-toseen.com/thaihis/warrama3.htm
รัชกาลที่ 3 ทรงให้ความสำคัญกับการดูแลการตัดสินคดีความของราษฎรมาก ทรงริเริ่มให้ราษฎรตีกลองวินิจฉัยเพื่อยื่นฎีกา และต่อมาได้ทรงขยายการรับฎีการ้องทุกข์คดีต่างๆ ไปยังท้องถิ่นห่างไกลมากขึ้น ซึ่งวิธีนี้ทำให้รัฐสามารถแทรกแซงอำนาจเข้าไปบั่นทอนอิทธิพลของขุนนางในท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวาง
ที่มาภาพ : http://www.tarad.com/product/1618571
นอกจากจะทรงใช้วิธีการสักเลกและลงทะเบียนไพร่แล้ว รัฐได้ใช้ “ระบบเจ้าภาษีนายอากร” ดึงผลประโยชน์จากท้องถิ่น ซึ่งนอกจากจะสามารถหารายได้ที่แน่นอนมาทดแทนการยกเลิกการผูกขาดของพระคลังสินค้าแล้ว รัฐยังสามารถลดอำนาจทางเศรษฐกิจของผู้นำในท้องถิ่นลงอีกด้วย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกลองวินิจฉัยเภรีที่ทิมดาบกรมวัง แล้วทำกุญแจปิดลั่นไว้ เวลามีผู้ต้องการจะถวายฎีกา เจ้าหน้าที่กรมวังก็จะไปไขกุญแจให้ เมื่อผู้ถวายฎีกาตีกลองแล้ว ตำรวจเวรก็ไปรับเอาตัวมา และนำความขึ้นกราบบังคมทูลให้ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ถ้ามีพระราชโองการสั่งให้ผู้ใดชำระ พนักงานเจ้าหน้าที่ก็จัดส่งฎีกาที่ราษฎรร้องทุกข์ ไปตามพระราชโองการทุกครั้งไป
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในรัชกาลนี้ ได้มีการปฎิรูปการปกครองเฉพาะในด้านประเพณีที่มีมาแต่เดิมๆ อย่างเช่น ปรับปรุงประเพณีการเข้าเฝ้า มีพระบรมราชโองการให้ทุกคนสวมเสื้อเข้าเฝ้า โปรดให้ราษฎรเข้าเฝ้าอย่างใกล้ชิด นอกจากนี้ในสมัยก่อนที่มีประเพณีถวายฎีกาต้องปฏิบัติดังนี้คือผู้ที่จะถวายฎีการ้องทุกข์จะต้องถูกเฆี่ยนก่อน 30 ครั้งและต้องไปตีกลองชื่อ วินัจฉัยเภรี ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้โปรดให้ยกเลิกวิธีนี้เสียในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้เปลี่ยนวิธีการถวายฎีการ้องทุกข์โดยกำหนดให้ พระองค์ท่านเสด็จออกรับฎีการ้องทุกข์ของราษฎรด้วยพระองค์เองทุกวันโกน รวมเดือนละ 4 ครั้ง
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นระยะเวลาที่ชาวยุโรปเริ่มแสวงหาอาณานิคมและแผ่อิทธิพลเข้ามาในเมืองไทย พระองค์จึงได้ทรงตรากฎหมายและประกาศต่างๆ ขึ้นใช้บังคับมากมาย เพื่อให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองในขณะนั้น เช่น พระราชบัญญัติมรดกสินเดิมและสินสมรส ใน พ.ศ. 2394 พระราชบัญญัติพระสงฆ์สามเณร และศิษย์วัด พ.ศ. 2402
ในการติดต่อกับต่างประเทศ ทำให้ไทยเสีย “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต” โดยต่างชาติอ้างว่ากฎหมายไทยป่าเถื่อนและรังเกียจวิธีการพิจารณาคดีแบบจารีตนครบาล รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯยกเลิก เมื่อ พ.ศ.2439 จึงไม่ยอมให้ใช้บังคับคนต่างชาติหรือคนในบังคับบัญชา ทำให้ไทยต้องทำการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5
การปฏิรูปกฎหมายไทย
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชุรีดิเรกฤทธิ์
ที่มาภาพ : http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2009/06/K7946253/K7946253.html
การปฏิรูปกฎหมายไทยในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มเมื่อ พ.ศ.2440 โดยพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชุรีดิเรกฤทธิ์ พระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้ทรงศึกษาวิชากฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมและได้รับยกย่องว่าเป็น “พระบิดาแห่งกฎหมายและการศาลไทย” ทรงตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้น โดยดำเนินการสอนเอง
โรงเรียนกฎหมายแห่งนี้ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจชำระและร่างกฎหมาย
การศาล
ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมใน พ.ศ.2434 เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น ตุลาการขาดความยุติธรรม ทุจริตตัดสินคดีความล่าช้า เป็นต้น โดยแยกตุลาการออกจากฝ่ายธุรการ และรวมศาลที่กระจายอยู่ตามกระทรวงต่างๆ มาไว้ที่กระทรวงยุติธรรมเพียงแห่งเดียว และใน พ.ศ.2435 ได้มีการเปลี่ยนแปลงงานด้านการศาล คือ รวมศาลอุทธรณ์คดีราษฎร์ ตั้งศาลราชทัณฑ์พิเฉทขึ้น ยกเลิกกรมรับฟ้องโดยตั้งจ่าศาลเป็นพนักงานรับฟ้องประจำศาลต่างๆ ต่อมารวมศาลราชทัณฑ์พิเฉทกับศาลอาญา รวมศาลแพ่งเกษมกับศาลแพ่งไกรศรีเป็นศาลแพ่ง ใน พ.ศ.2441 จัดแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก ได้แก่ ศาลฎีกา ศาลกรุงเทพฯ และศาลหัวเมือง
สิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านการศาล มีดังนี้
1. ศาลในกรุง โปรดฯ ให้ตั้ง ศาลโปริสภา สำหรับทำหน้าที่เปรียบเทียบคดีความวิวาทของราษฎรที่เกิดขึ้นในท้องที่ และเป็นคดีที่มีโทษขนาดเบา ต่อมา ศาลโปริสภา ได้เปลี่ยนเป็น ศาลแขวง เมื่อ 1 ตุลาคม 2478
2. ศาลหัวเมือง โปรดฯ ให้จัดตั้งกองข้าหลวงพิเศษ ขึ้นคณะหนึ่งมีพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์) เป็นประธาน จัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมทั่วพระราชอาณาจักร ให้เป็นแบบเดียวกันทั้งหมด กองข้าหลวงพิเศษชุดนี้ มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ
2.1 จัดตั้งศาลยุตธรรมสำหรับพิจารณาคดีขึ้นตามหัวเมืองทั้งปวงเสียใหม่
2.2 ชำระสะสางคดีความที่ค้างอยู่ในศาลตามหัวเมืองต่าง ๆ ให้หมดสิ้นไป
3. จัดแบ่งชั้นของศาล เพื่อให้ระเบียบการศาลยุติธรรมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อบเป็นหลักฐานมั่งคงยิ่งขึ้น ก็โปรดฯให้ตราพระธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ขึ้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2451
โดยแบ่งศาลออกเป็น 3 แผนก คือ
อาคารศาลฎีกาในอดีตนั้นเป็นอาคารศาลสถิตย์ยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5
ที่มาภาพ : http://real-hopeless.blogspot.com/2010/09/blog-post.html
3.1 ศาลฎีกา
3.2 ศาลสถิตยุติธรรมกรุงเทพฯ
3.3 ศาลหัวเมืองสิ่งที่ปรับปรุงแก้ไขทางด้านกฎหมายมีดังนี้
3.3.1 ได้จ้างชาวต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย เข้ามารับราชการเป็นที่ปรึกษา เช่นดร. โรลัง ยัคมินส์ ชาวเบลเยี่ยม ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น เจ้าพระยาอภัยราชาสยามมานุกูลกิจนายโตกีจิ มาซาโอะ ชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยามหิธรรมนูปกรณ์โกศลคุณนายวิลเลียม อัลเฟรด ติลเลเก ชาวศรีลังกา ต่อมาได้รับการโปรดเกล้าฯ เป็น พระยาอรรถการประสิทธิ์
3.3.2 ได้โปรดฯให้ตั้ง กองร่างกฎหมาย สำหรับทำหน้าที่ตรวจสอบชำระบรรดาพระราชกำหนดกฎหมายต่าง ๆ เพื่อให้ได้ ตัวบทกฎหมายที่ทันสมัยตามแบบอารยประเทศ โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นประธาน
3.3.3 ตั้งโรงเรียนสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2440 โดยมีกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เสนาบดีกระทรวง ยุติธรรมเป็นผู้อำนวยการ ด้วยเหตุนี้ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
3.3.4 ยกเลิกการลงโทษแบบจารีตนครบาล จากผลการปฏิรูปการศาลและการชำระกฎหมายให้ทันสมัย ทำให้ การพิจารณาคดีแบบจารีตและวิธีลงโทษแบบป่าเถื่อนทารุณต่าง ๆ ได้ถูกยกเลิกไปโดยสิ้นเชิงการทหาร เริ่มการฝึกทหารตามแบบยุโรปเพื่อใช้ป้องกันราชอาณาจักร ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นการฝึกทหารเกณฑ์ แบบยุโรปเพื่อใช้เป็นทหารรักษาพระองค์เท่านั้น
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
การปรับปรุงกฎหมายและการศาล
1) จัดระเบียบการศาลใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2455 โดยให้แยกหน้าที่ราชการในกระทรวงยุติธรรมออกเป็น ฝ่ายธุรการ และฝ่ายตุลาการ และให้ศาลฎีกามาสังกัดกระทรวงยุติธรรม และ ได้โปรดให้ตั้งตำแหน่งอธิบดีศาลฎีกาขึ้น
2) ประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เป็นครั้งแรก
ส่งเสริมวิชาการกฎหมาย ให้ยกฐานะโรงเรียนกฎหมายที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ให้เป็นโรงเรียนหลวงสังกัดกระทรวงยุติธรรม โปรดให้ตั้ง สภานิติศึกษา ขึ้น มีหน้าที่สำหรับจัดระเบียบกับวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย และโปรดให้จัดตั้งเนติบัณฑิตยสภาขึ้นเป็นสภาในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการศึกษาวิชากฎหมายและการว่าความ ควบคุมจรรยาความประพฤติของทนายความ
เนติบัณฑิตยสภา
ที่มาภาพ : http://www.thethaibar.or.th/thaibarweb/index.php?id=vision
ระบบการร้องทุกข์สมัย รัชกาลที่ 7 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระนามเดิมว่า " เจ้าฟ้าชายประชาธิปกศักดิเดช กรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา " เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 12 พรรษา พระองค์ได้เข้าศึกษา ในวิทยาลัยทหารบก ณ ประเทศอังกฤษจนจบและได้เสด็จกลับมารับราชการในรัชกาลที่ 6 ซึ่งเป็นพระเชษฐาธิราชของพระองค์ต่อมาภายหลังได้เลื่อนตําแหน่งเป็นลําดับจนเป็นนายพันเอก มีตําแหน่งเป็นปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ก่อนขึ้นครองราชสมบัติมีตําแหน่งเป็นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2
เมื่อได้เสด็จขึ้นครองราชย์แล้ว โปรดแต่งตั้งสภาอิรัฐมนตรีขึ้นให้มีหน้าที่ให้คําปรึกษาราชการและบริหารการเมือง โปรดให้ร่วมการศึกษาวิทยุคมนาคมกับต่างประเทศ พระองค์เริ่มจัดงบประมาณของประเทศขึ้นเพราะขณะนั้นได้เกิดเศรษฐกิจตกตํ่าทั่วโลก พระองค์เริ่มต้นตัดทอนงบประมาณแผ่นดินเป็นครั้งแรกเหตุการณ์นี้เป็นมูลเหตุของการปฎิวัติใน ปีพ.ศ. 2475 ประองค์ทรงตัดทอนรายจ่ายของพระองค์เอง ข้าราชการที่รับราชการที่จนล้นงานก็ให้ออกจากกระทรวงทบวงกรมต่างๆ เป็นจํานวนมากเพื่อลดรายจ่ายของประเทศเกิดความไม่พอใจอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสยามในเวลาต่อมา พระราชกรณียกิจประการหนึ่งที่ คือ พระองค์มีพระราชปรารภจะพระราชทานรัฐธรรมนูญการปกครองให้แก่สยาม โดยพระองค์ได้มอบหมายให้นายเรย์มอนด์ บาร์ทเล็ตต์ สตีเฟนส์ ที่ปรึกษานโยบายต่างประเทศชาวอเมริกัน และพระยาศรีวิสารวาจา ร่วมกันทำบันทึกความเห็นในเรื่องดังกล่าว แต่ถูกทักท้วงจากพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่จึงได้ระงับไปก่อน
เมื่อพระองค์ทรงทราบถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พระองค์ตรัสเรียกพระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีที่อยู่ที่หัวหินให้เข้าประชุมกันที่วังไกลกังวลเพื่อทรงหารือแนวทางต่างๆ ที่จะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในที่ประชุมนั้นแสดงความเห็นออกเป็นสองฝ่ายทั้งสนับสนุนให้ต่อสู้กับคณะราษฎรและฝ่ายที่เห็นว่าไม่ควรสู้ หลังจากนั้น พระองค์ตรัสว่า
"เมื่อได้ฟังความเห็นของเจ้านายและเสนาบดีทั้งสองฝ่ายแล้ว ทรงเห็นว่าถ้าจะสู้ก็คงสู้ได้ แต่จะเสียเลือดเนื้อข้าแผ่นดินซึ่งเป็นคนไทยด้วยกัน"
รัชกาลที่ 7 พระราชทานรัฐธรรมนูญ 10 ธค. 2475
ที่มาภาพ : http://anblogilaw.blogspot.com/2014_04_01_archive.html