การร้องทุกข์ของประชาชนในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน
ประเทศไทยปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ระบบการปกครองที่เปลี่ยนไป มีผลทำให้การร้องทุกข์เปลี่ยนตามไปด้วย
ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้นในหลายด้าน นั่นคือมีอำนาจหรือผลประโยชน์ที่ได้รับการคุ้มครองและรับรองตามกฎหมาย
และมีความเป็นอิสระที่จะกระทำการต่างๆได้ตามความต้องการของตน โดยไม่ละเมิดต่อผู้อื่นและไม่ผิดกฎหมาย
ในเรื่องร้องทุกข์ร้องเรียน ประชาชนก็มีสิทธิในการรับข้อมูลข่าวสารและร้องเรียน
อาทิเช่น
มาตรา57 สิทธิได้รับข้อมูล
คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ
“บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล
คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ
หรือราชการส่วนท้องถิ่น
ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต
หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น
และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
และการออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน
ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ”
มาตรา59
สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์
“บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว”
หน่วยงานและช่องทางการร้องทุกข์ในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน สังคมประชาธิปไตยมีความเปิดกว้าง
ประชาชนมีอิสระในการใช้สิทธิเสรีภาพมากยิ่งขึ้น
การร้องทุกข์จึงมีความหลากหลายและซับซ้อนกว่าในอดีตที่ผ่านมา นอกจากนี้
การะบบศึกษาที่พัฒนา ส่งผลให้ประชาชนรู้สิทธิของตนมากยิ่งขั้น
อัตราการร้องทุกข์จึงเพิ่มขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ชนชั้นปกครองจึงต้องมีการแบ่งหน้าที่และเพิ่มช่องทางรับเรื่องร้องทุกข์
เพื่อตอบสนองต่อปัญหาความทุกข์ยากประชาชน
ทางคณะฯได้แบ่งหน่วยงานด้านการร้องทุกข์ออกเป็น2กลุ่ม คือ หน่วยงานภาครัฐ
และหน่วยงานภาคประชาชน โดยได้เลือกหน่วยงานมาเป็นกรณีศึกษาอันได้แก่
1. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
2.
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
3. มูลนิธิปวีณา หงสกุล
เพื่อเด็กและสตรี
4. Change.org
1. หน่วยงานและช่องทางการร้องทุกข์ภาครัฐ
1.1 สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
ที่มาภาพ : https://webapp.ombudsman.go.th/omb_ics/
ประวัติความเป็นมาระบบผู้ตรวจการแผ่นดิน
ในอดีตรูปแบบการเมืองการปกครองของไทยที่เก่าแก่และยืนยาวที่สุด ก็คือ
ระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยสมัยพ่อขุนรามคำแหง “ที่ปากประตูเมืองจะมีกระดิ่งแขวนไว้ให้ประชาชนที่ทุกข์ร้อนข้องใจมาสั่นกระดิ่ง
และเมื่อพ่อขุนรามคำแหงผู้เป็นเจ้าเมืองได้ยินก็จะเรียกมาถาม
และพิจารณาตัดสินหาความชอบธรรมให้” ต่อมา เมื่อมีการพัฒนาการเมืองการปกครอง
ความใกล้ชิดระหว่างผู้มีอำนาจบริหารระดับสูงกับราษฎรมีความเหินห่างมากขึ้น
อีกทั้งความสลับซับซ้อนในวิธีปฏิบัติทางการปกครองเพิ่มขึ้น
จึงเกิดแนวความคิดที่จะควบคุมฝ่ายบริหารโดยผ่านกลไกพิจารณาตรวจสอบหรือการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนที่
ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน
ในปี พ.ศ. 2517
คณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้มี “ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของรัฐสภา” ไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปีพุทธศักราช 2517
แต่ในขั้นสภานิติบัญญัติแห่งชาติได้มีการปรับปรุงร่าง รัฐธรรมนูญโดยตัด
ในส่วนของผู้ตรวจการแผ่นดินออกไป
ในวันที่
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 คณะกรรมาธิการการปกครอง และคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร
ร่วมกับสถาบันนโยบายศึกษา สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย
ได้จัดสัมมนาเรื่องผู้ตรวจการรัฐสภาขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการสัมมนาเกือบ
80 คน นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการระดมความคิดเห็นอย่างเป็นทาง การ
เพื่อเป็นแนวทางในการจัดตั้งผู้ตรวจการรัฐสภา
นับแต่นั้นเป็นต้นมาได้มีการจัดสัมมนา
มีการอภิปรายและเผยแพร่แนวความคิดทางสื่อสารมวลชน ต่างๆ มากขึ้น
แต่แนวคิดดังกล่าวยังคงรับรู้อยู่ในกลุ่มสมาชิกรัฐสภา นักวิชาการ
และผู้ทรงคุณวุฒิส่วนหนึ่งเท่านั้น หลังจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ จึงเกิดแรงผลักดันอย่างจริงจังในการที่จะบัญญัติสถาบันผู้ตรวจการรัฐสภาไว้
ในรัฐธรรมนูญของประเทศไทย โดยแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญพุทธศักราช 2534 ฉบับที่ 5
ปีพุทธศักราช 2538 โดยบัญญัติในมาตรา 162 ทวิ ดังนี้
“พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภามีจำนวนไม่เกินห้าคน
ตามมติของรัฐสภาและให้ประธานรัฐสภาเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภา”
เนื่องจากไม่มีบทบังคับในเรื่องระยะเวลาการดำเนินการ
ทำให้ตลอดระยะเวลาที่ใช้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวจึงไม่มีการแต่งตั้งผู้ตรวจการรัฐสภาขึ้น
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากมีกระแสผลักดันให้มีการปฏิรูปการเมือง
จนกระทั่งได้นำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 ฉบับที่
6 แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2539 โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 211
ในเรื่องการตั้งคณะกรรมการสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น
การจัดตั้งระบบผู้ตรวจการแผ่นดินจึงประสบความสำเร็จโดยใช้ชื่อว่า “ผู้ตรวจการแผ่นดินของ รัฐสภา” และได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540 หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 7 ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา มาตรา 196
มาตรา 197 และมาตรา 198 และกำหนดให้มีการตราพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา เพื่อรองรับและกำหนด รายละเอียดในการปฏิบัติ
ซึ่งรัฐสภาก็ได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าว
และประกาศใช้เป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่า ด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
พ.ศ. 2542 ขึ้น
เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2543 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ
แต่งตั้งให้นายพิเชต สุนทรพิพิธ
เป็นผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรกของประเทศไทย และต่อมาใน วันที่ 12 เมษายน
พ.ศ. 2543 ได้มีคำสั่งผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาแต่งตั้งให้นายปราโมทย์ โชติมงคล
เป็นเลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาคนแรกของประเทศไทย และให้ถือว่า
วันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2543
เป็นวันก่อตั้งสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอีกด้วย
ต่อมาได้มีการคัดเลือกผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาอีก 2 คน คือ นายพูลทรัพย์
ปิยะอนันต์ และ พลเอกธีรเดช มีเพียร ซึ่งบัดนี้ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่งไปแล้ว
กรณี พลเอกธีรเดช มีเพียร นั้น ได้ดำรงตำแหน่งประธานผู้ตรวจการแผ่นดินคนแรก
ต่อมา เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้เกิดการปฏิวัติรัฐประหาร
โดยคณะบุคคลที่เรียกว่า “คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.)” และได้มีการประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2540
ซึ่งโดยหลักการแล้วพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญย่อมต้องถูกยกเลิกไปด้วย แต่
คปค.ได้มีประกาศ คปค. ฉบับที่ 14 ลงวันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2549
ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภามีอยู่ต่อไป โดยให้เหตุผลว่า “เพื่อให้การดำเนินการเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียนและการบริหารราชการแผ่นดินและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
จึงมีประกาศให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา
พ.ศ. 2542 มีผลบังคับใช้ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศเป็น อย่างอื่น”
ซึ่งทำให้ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภายังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อแก้ไขความทุกข์ร้อนให้แก่ประชาชน
หลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ถูกยกเลิก
ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549
โดยบัญญัติให้มีสภาร่างรัฐ ธรรมนูญ เพื่อจัดทำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ทั้งฉบับสำหรับเป็นแนวทางในการปกครองประเทศ
โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางทุกขั้นตอน
เมื่อการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จและจัดให้มีการออกเสียงประชามติ
ผลปรากฏว่าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้นำร่างรัฐธรรมนูญมาใช้บังคับ
โดยได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 เมื่อวันที่ 24
สิงหาคม พ.ศ. 2550 ซึ่งยังคงระบบผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภาไว้ในรัฐธรรมนูญ
โดยบัญญัติให้เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญองค์กรหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐต่อไป
พร้อมทั้งมอบอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมให้อีกหลายประการ และมีการเปลี่ยนแปลงชื่อจาก “ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา” เป็น “ผู้ตรวจการแผ่นดิน”
ปัจจุบันมีผู้ตรวจการแผ่นดินทั้งหมด 2 คน ประกอบด้วย พลเอก วิทวัส
รชตะนันทน์ ผู้ตรวจการแผ่นดินปฏิบัติหน้าที่แทนประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน
และนายบูรณ์ ฐาปนดุลย์ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
บทบาท
อำนาจ และหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดินตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่ได้กำหนดให้ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่เพิ่มเติมจากเดิมประกอบด้วย
มาตรา ๒๔๔ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
(๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
(ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ
หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
(ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้าง
ของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดย ไม่เป็นธรรม
ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
(ค)
การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กร ตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล
(ง) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
(๒) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา
๒๗๙ วรรคสาม และมาตรา ๒๘๐
(๓) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึง
ข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
(๔)
รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกต ต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้
ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย
การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (๑)
(ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียน
เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ
ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้
มาตรา ๒๔๕
ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้
เมื่อเห็นว่ามีกรณีดังต่อไปนี้
(๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ
และให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้
ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
(๒) กฎ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๒๔๔ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย
ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครอง
และให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัยโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
“การร้องเรียนในปัจจุบันจะเป็นประชาชนเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานภาครัฐในบางกรณี จะมีที่รับได้60% และรับไม่ได้40% (นอกเหนือจากอำนาจที่มีอยู่) โดยส่วนใหญ่จะติดต่อมาโดยตรงมากที่สุด
ออนไลน์รองลงมา และสายด่วนน้อยที่สุด
และส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้เอง แม้ว่าจะเป็นปัญหายุบยิบ
ก็เป็นสิทธิอันพึงมีพึงได้ของประชาชน
อัตราการร้องทุกข์ร้องเรียนเพิ่มขึ้นทุกๆปี อาจเกิดจากการศึกษาที่พัฒนา
ทำให้ประชาชนรู้สิทธิของตัวเองมากขึ้น จากที่ได้กล่าวมา
ผนวกกับช่องทางการร้องเรียนที่กว้างขึ้น คาดว่าอนาคตปัญหาจะลดลง” (ธนพล ธนวิชรนนท์)
ขั้นตอนการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน
1.รับเรื่องและตรวจสอบพิจารณารับคำร้อง
2.การแสวงหาข้อเท็จจริง
3.การวินิจฉัยคำร้องเรียน
4.การสรุปข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมาย
5.การติดตามผลการปฏิบัติตามคำวินิจฉัย
ช่องทางร้องเรียน
·
ร้องเรียนทางอินเตอร์เน็ต
ที่ https://webapp.ombudsman.go.th/omb_ics/
·
ร้องเรียนทางโทรศัพท์ การร้องเรียนทางสายด่วน 1676
ช่องทางโทรศัพท์หมายเลข 1676 (โทรฟรีทั่วประเทศ) หรือหมายเลข 0-2141-9100
·
ร้องเรียนทางไปรษณีย์
การร้องเรียนทางไปรษณีย์ โดยลงชื่อผู้ร้องเรียน ที่อยู่ โทรศัพท์
(หรือโทรศัพท์ใกล้บ้านที่ติดต่อได้) ผู้ถูกร้องเรียน และเหตุที่ร้องเรียน
หากต้องการปกปิดชื่อผู้ร้องเรียน ขอให้ระบุ สำนักงานฯ จะรักษาเป็นความลับอย่าง
เคร่งครัด โดยส่งไปยัง สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80
พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารบี ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2141-9100 หรือ 1676 โทรสาร
0-2143-8341
·
ร้องเรียนผ่าน ส.ส. หรือ
ส.ว. การร้องเรียนผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) หรือสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.)
ในเขตพื้นที่ของผู้ร้องเรียน ซึ่ง ผู้ตรวจการ
แผ่นดินได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปรับเรื่องร้องเรียนที่อาคารรัฐสภา
ในช่วงเปิดสมัยประชุมสภาด้วย
·
ร้องเรียนผ่านเครือข่ายของสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร้องเรียนผ่านเครือข่ายของผู้ตรวจการแผ่นดิน
ได้แก่ สภาทนายความ และสำนักงาน สาขาของสภา ทนายความทั่วประเทศ
สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ ประชาชน
(สคช.) สำนักงานอัยการจังหวัด ทั่วประเทศ
·
ร้องเรียนด้วยตนเอง
การร้องเรียนด้วยตนเองได้ที่
สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80
พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารบี ชั้น 5 เลขที่ 120 หมู่ที่ 3 ถนนแจ้งวัฒนะ
แขวงทุ่งสองห้อง เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210 โทร. 0-2141-9100 หรือ 1676 โทรสาร
0-2143-8341
1.2
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม
พ.ศ.2547 ให้โอนภารกิจของกองบังคับการทะเบียน หรือชื่อย่อว่า บก.ท.
ไปยังหน่วยงานอื่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปี พ.ศ.2548
ได้มอบหมายให้กองทะเบียนในขณะนั้น รับผิดชอบการปฏิบัติภารกิจด้านการสืบสวนสอบสวน
และจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคทั่วราชอาณาจักร
ต่อมา เมื่อวันที่ 7 กันยายน
พ.ศ.2552 สำนักงานตำรวจแห่งชาติได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหน่วยงานใหม่
ตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการ หรือ
ส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552
และระเบียบสำนักงานตำรวจแห่งชาติว่าด้วยการกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
พ.ศ.2552 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ
บก.ปคบ.
จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในด้านการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
มีอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาความสงบเรียบร้อย
ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมปฏิบัติตาประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญาและสืบสวนการกระทำผิดที่มีโทษทางอาญาเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
มาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม อาหารและยาทั่วราชอาณาจักร รวมทั้งปฏิบัติงานร่วมกัน
หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
อันได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
(สคบ. )
กระทรวงสาธารณสุข สำนักคณะกรรมการอาหารและยา (อย. ) และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
(สมอ.)
“การร้องเรียนในปัจจุบันจะเป็นประชาชนเป็นส่วนใหญ่
และมีหน่วยงานภาครัฐในบางกรณี โดยจะรับในกรณีที่เป็นอาญา
ส่วนกรณีแพ่งจะส่งต่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆดำเนินการ
การติดต่อของประชาชนมี2ลักษณะ คือ เลื่อนลอย ขอคำปรึกษา และเรื่องราว ต้องเร่งดำเนินการ
ปัญหาส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ประชาชนรับรู้ แต่นิ่งเฉย
และจะดำเนินการก็ต่อเมื่อมีผลกระทบต่อตัวองโดยตรง
อัตราการร้องทุกข์ร้องเรียนเพิ่มขึ้นในทุกๆปี อาจเกิดจากการศึกษาที่พัฒนา
ทำให้ประชาชนรู้สิทธิของตัวเองมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าบทบาทหน้าที่และช่องทางการร้องเรียนก็ต้องขยายตัวตามเช่นกัน” (พ.ต.ท.ดร.ณัฐพล สิปิพันธ์)
2. หน่วยงานและช่องทางการร้องทุกข์ภาคประชาชน
2.1 มูลนิธิ ปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี
ประวัติและความเป็นมาของมูลนิธิ
ปวีณา หงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
"การละเมิดสิทธิของเด็กและสตรี เป็นปัญหาที่สำคัญและหยั่งรากลึกในสังคมไทย
ผู้ที่ด้อยโอกาสมักจะได้รับการกดขี่ข่มเหงจากผู้ที่มีอำนาจมากกว่าอยู่เสมอ ดังนั้น
จึงเป็นหน้าที่ของเราทุกคน
ในการช่วยกันสอดส่องดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ การทำร้าย การทารุณกรรม
เกิดขึ้นในหมู่ของสตรีและเด็ก ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มคนที่อ่อนแอในสังคม"
"มูลนิธิปวีณา หงสกุล เพื่อเด็กและสตรี"
เป็นมูลนิธิที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ด้อยโอกาสโดยไม่หวังผลกำไร
โดยมี นางปวีณา หงสกุล สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตกรุงเทพ ฯ (6 สมัย)
เป็นทั้งผู้ก่อตั้งและประธานของมูลนิธิ ฯ " นางปวีณา หงสกุล เริ่มก่อตั้งมูลนิธิ
ฯ ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ
ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ และดำเนินการเรื่อยมา...
จากผลการปฏิบัติงานของชุดเฉพาะกิจ ส.ส.ปวีณา หงสกุล เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีได้ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง
และได้รับความสนใจจากประชาชนและสื่อมวลชน
ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกฃนให้ความร่วมมือด้วยดีตลอดมา
เพราะประชาชนเป็นจำนวนมากที่ถูกละเมิดสิทธิ์ และผู้พบเห็นได้มาร้องเรียน
เพื่อขอความช่วยเหลือในกรณีถูกละเมิดสิทธิ เช่น ล่อลวงค้าประเวณี ข่มขืน ทารุณกรรม
ฯลฯ และท่านได้ร่วมออกไปปฏิบัติการช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ
ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถนำผู้กระทำผิดมาลงโทษได้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ถูกละเมิดสิทธิ และถูกทารุณกรรมในรูปแบบต่างๆ
ตลอดจนการฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจ
2. เพื่อช่วยเหลือเด็กและสตรีที่ได้รับเคราะห์กรรมและไร้ที่พึ่ง
ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนารายได้
เสริมทักษะแก่เด็กที่ยากไร้และด้อยโอกาส
4. เพื่อส่งเสริมกิจกรรมด้านวัฒนธรรมไทย
ช่องทางติดต่อ ร้องเรียน ขอความช่วยเหลือ
กับมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี
1. โทรสายด่วน : 1134 , 02-577-0500-1 , 02-577-0496-8 แฟกซ์ 02-577-0499
เวลาทำการจันทร์-ศุกร์ เวลา 08.30-17.30 น.
นอกเวลาทำการติดต่อ 062-560-1636, 098-478-8991, 081-814-0244
นอกเวลาทำการติดต่อ 062-560-1636, 098-478-8991, 081-814-0244
2. โทรสาร: 02-577-0499
3. Email pavena1134@hotmail.com
4. ส่งจดหมาย ที่ตู้ ปณ. 222 ธัญบุรี.
5. เดินทางร้องเรียน ขอความเป็นธรรมได้ด้วยตนเอง ที่ มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์)
ตั้งอยู่เลขที่ 84/14 หมู่ 2 ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง 7) ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
4. ส่งจดหมาย ที่ตู้ ปณ. 222 ธัญบุรี.
5. เดินทางร้องเรียน ขอความเป็นธรรมได้ด้วยตนเอง ที่ มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์)
ตั้งอยู่เลขที่ 84/14 หมู่ 2 ถ.รังสิต-นครนายก (คลอง 7) ต.ลำผักกูด อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี 12110
*** สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของ
"มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี" ได้ทาง Facebook: มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี ***
ขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ
"มูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี"
(องค์กรสาธารณประโยชน์) รับเรื่องราวร้องทุกข์เฉลี่ยวันละ 50-70 ราย มีขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือ 6
ขั้นตอน ดังนี้
1. กรอกแบบฟอร์มใบรับเรื่องราวร้องทุกข์ พร้อมบรรยายถึงรายละเอียดสิ่งที่ต้องการความช่วยเหลือ (ดาวน์โหลดแบบฟอร์มเรื่องราวร้องทุกข์)
2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องพร้อมสอบถามข้อเท็จจริง
3. เจ้าหน้าที่รับเรื่องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามลำดับชั้น
4. ผู้บังคับบัญชาประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางในการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
5. ส่งชุดเฉพาะกิจลงพื้นที่ครวจสอบข้อเท็จจริงและให้การช่วยเหลือ
- หากพบว่าเรื่องที่ร้องทุกข์มีมูลความจริง ผู้บังคับบัญชาจะประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงยุติธรรม กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ เพื่อบูรณาการและเร่งหาทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งในแต่ละขั้นตอนจะมีเจ้าหน้าที่มูลนิธิปวีณาฯ คอยอำนวยความสะดวกในการพาผู้เสียหายไปดำเนินการ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
- หากพบว่าข้อมูลไม่ชัดเจน เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ร้องทุกข์ทราบถึงผลการลงตรวจสอบข้อเท็จจริงในพื้นที่ ว่าไม่ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่ร้องทุกข์แต่อย่างใด ในชั้นนี้หากผู้ร้องทุกข์มีข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถนำมามอบให้เจ้าหน้าที่เพื่อทำการตรวจสอบเพิ่มเติมได้
6. บำบัดฟื้นฟูและช่วยเหลือทางกระบวนการยุติธรรม มูลนิธิปวีณาฯ จะช่วยบำบัดฟื้นฟูสภาพจิตใจให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติสุข รวมทั้งคอยอำนวยการช่วยเหลือทางกระบวนการยุติธรรมไปจนกว่าคดีจะเสร็จสิ้น
ผลการดำเนินงานประจำปี 2558
วันที่ 29 ธ.ค. 58 นางปวีณา
หงสกุล ประธานมูลนิธิปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี (องค์กรสาธารณประโยชน์)
แถลงสรุปผลการดำเนินงานช่วยเหลือเด็กและสตรีผู้ไม่ได้รับความเป็นธรรมในรูปแบบต่างๆ
ประจำปี 2558 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 28 ธันวาคม 2558 โดยปัญหาหลักที่มีการติดต่อเข้ามากมากที่สุด
มีดีงนี้
1.ปัญหาครอบครัว 751 ราย
2.ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย 725 ราย
3.ทารุณกรรม/กักขัง 725 ราย
4.ข่มขืน/อนาจาร 656 ราย
2.ทารุณกรรม/ทำร้ายร่างกาย 725 ราย
3.ทารุณกรรม/กักขัง 725 ราย
4.ข่มขืน/อนาจาร 656 ราย
“การร้องเรียนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นกรณีที่ต้องเร่งดำเนินการ
ซึ่งจะเป็นปัญหาที่ประชาชนไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง อาทิเช่น
ปัญหาการใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว คนไทยมีอุปนิสัยดั้งเดิมคือรักความสบาย
หลีกเลี่ยงปัญหา การที่จะร้องเรียนจึงจะเป็นกรณีร้ายแรงเป็นส่วนใหญ่” (ปวีณา หงสกุล)
2.2
Change.org
ที่มาภาพ : http://www.quotationof.com/bio/ben-rattray.html
ที่มาภาพ : http://www.atotaldisruption.com/ben-rattray/
Change.org คือ เว็บไซต์ที่มีความสามารถพิเศษอย่างการประยุกต์เครื่องมือของนักอาสาสมัครรุ่นเก่า
ที่เรียกว่า “การร้องเรียน”
เข้ากับเครื่องมือแห่งความทันสมัยในโลกยุคดิจิตัลอย่างเว็บไซต์
เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เป็นความสามารถในการเข้าถึงและเปิดเวทีในการสร้างสรรค์การร้องเรียนในเรื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงสังคมให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้
ภารกิจของ
Change.org
คือส่งเสริมพลังให้ผู้คนจากทุกที่ทั่วโลกเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงที่พวกเขาต้องการเห็น
Change.orgเชื่อว่าวิธีที่ดีที่สุดในการดำเนินการตามภารกิจนี้ให้สำเร็จคือการเป็นบริษัทที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังแห่งธุรกิจที่สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้สังคม
และนโยบายของ Change.org คือ สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ปกป้องคุณและชุมชนโดยรวม และช่วยให้คุณสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ
โดยผู้ก่อตั้งเว็บไซต์อันเต็มเปี่ยมไปด้วยอุดมการณ์นี้คือ
Ben
Rattray
ด้วยเจตนาที่ดีกับการเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนโลกนั้นไม่ได้เป็นย่างก้าวที่ง่ายดาย
“การร้องเรียนในโลกออนไลน์” มีอะไรมากกว่าการรวบรวมรายชื่อหรือการออกหนังสือแสดงวัตถุประสงค์
Change.org ลงมือทำมากกว่าด้วยการสร้างเครื่องมือสำหรับเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิวัติ
พร้อมบอกกับทุกคนที่ร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลงนี้ว่า
เราต่างไม่ได้ต่อสู้กันอยู่เพียงลำพังอีกต่อไป
อย่าประมาทพลังแห่งการปฏิวัติรายบุคคล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลหรือหน่วยงานทั่วไป
คนกลุ่มนี้จะยอมรับฟังความเป็นไปที่ไม่ถูกที่ถูกทาง
ก็ต่อเมื่อมีรายชื่อนับพันจากการร่วมลงชื่อของผู้คนในเว็บไซต์ change.org นี่ยังนับรวมไปถึงกองทัพผู้สนับสนุนในเฟซบุ้คและทวิตเตอร์อีกมหาศาล
และพลังยิ่งแข็งแกร่งขึ้นเมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไปสู่ทางที่ดีปรากฏอยู่บนหน้าหนังสือพิมพ์อีกเล็กน้อย
Change.org คือ การเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงขนาดเล็ก โดยมวลชนขนาดใหญ่
“เมื่อไหร่ที่คุณเขียนถึงประเด็นที่คุณสนใจ
แม้มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ หรือเป็นประเด็นในพื้นที่ที่จำกัด แต่เมื่อใดที่มีผู้คนสนใจและร่วมสนับสนุน
นั่นคือจุดเริ่มต้นของชัยชนะ” (Ben
Rattray)
เอกลักษณ์ของ change.org ไม่ได้เป็นเรื่องของ “ตัวเลขรายชื่อจำนวนเล็กน้อยกับแคมเปญระดับมวลชน”
แต่ต้องแก้ไขให้ถูกต้องคือ “ตัวเลขรายชื่อของมวลชนกับแคมเปญขนาดเล็ก” และด้วยจำนวนผู้ใช้งานมากถึง
35 ล้านคน ใน 196 ประเทศ ในทุกๆ
วันมีคนใช้ change.org เป็นเครื่องมือการเปลี่ยนแปลงสังคมของตนเองและผู้อื่น
ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ไปจนถึงระดับโลก
แคมเปญรณรงค์กว่าพันรายการเริ่มต้นจากผู้คนเหล่านี้
ผสานกับพลังของผู้ร่วมสนับสนุนที่ต้องการเห็นชัยชนะแห่งการลงมือทำในสิ่งที่ถูกต้อง
มองเห็นคุณค่าของโอกาสสำหรับสร้างความแตกต่างเพื่อสิ่งที่ดีขึ้น
จากปัญหาการรวมตัวเพื่อเรียกร้องความถูกต้องในอดีต ที่ต้องอาศัยทั้งงบประมาณ เวลา
ขั้นตอนการร้องเรียนที่สุดจะซับซ้อน แต่ในวันนี้ที่เทคโนโลยีทำให้ความยุ่งยากเหล่านี้ไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป
ที่มาภาพ : http://www.quotationof.com/ben-rattray.html
ถ้าโดน ตำรวจ อัยการ ศาล รวมหัวตัดสินคดีโดยไม่อิงตัวบทกฏหมายเพื่อช่วยคนผิดเเถมปิดเรื่องชั่วกันทั้งประเทศยังทำได้ การร้องทุกข์ของประชาชนเป็นการทำให้ประเทศนี้ดูดีเท่านั้น ตัวอย่างศาลนนท์ ศาลทุ่งสง ตัดสินคดีจันไรสุดๆไม่อิงตัวบทกฏหมายเลย ศาลโคตรตกต่ำเลยเมื่อเห็นเงินความถูกผิดเลยไม่มีปกปิดความชั่วกันเข้าไป
ตอบลบCasino Site | LuckyClub
ตอบลบCasino site. Casino. 3131 St. James Way. Brooklyn, NY 50607. luckyclub.live (833) 897-9701. Visit Website. http://www.jackpotcity.com/. Find more promotions and benefits!