วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ความหมาย + บทนำ



     "  จากการไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2559 ตามที่ได้รับมอบหมาย กลุ่ม B6 เห็นว่า กลองวินิจฉัยเภรี เป็นกลองร้องทุกข์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีความสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนไทย และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยในด้านระบบตุลาการ เรื่องการร้องทุกข์ของประชาชน จากการศึกษาประเด็นดังกล่าว สมาชิกในกลุ่มจึงมีความเห็นตรงกันว่า การร้องทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย เป็นเรื่องที่เหมาะสมในการจัดทำโครงงานในครั้งนี้  " 







          โครงงานไทยศึกษาเชิงประจักษ์ เรื่อง การร้องทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงผลกระทบของระบบตุลาการที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งทราบถึงสภาพความเปลี่ยนแปลง และจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการร้องทุกข์ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้ศึกษาสู่สาธารณะโดยจัดทำผ่านทางสื่อออนไลน์ เป็นการศึกษาค้นคว้าความเป็นมาของการร้องทุกข์ของประชาชนตั้งแต่สมัยอดีตกาล (สมัยสุโขทัย และรัชกาลที่ 4) ตลอดจนจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการร้องทุกข์ในสมัยรัชกาลที่ 5-7 จวบจนถึงปัจจุบันว่ามีหน่วยงานที่เป็นภาครัฐ และภาคประชาชนที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการร้องทุกข์ของประชาชน ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือโดยไม่เลือกปฏิบัติแต่อย่างไร 


                 การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และทางสื่อออนไลน์ อาทิเช่น www.royin.go.th (สำนักราชบัณฑิตยสภา)  พบว่า 



ในสมัยสุโขทัย มีการร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ใช้กระดิ่งซึ่งแขวนไว้ที่ประตูวังเป็นเครื่องมือในการร้องทุกข์  


                             ปรากฏในศิลาจารึกหลักที่1
     “ในปากประตูมีกระดิ่งอันณื่งแขวนไว้หั้น ไพร่ฟ้าหน้าปก กลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้องข้องใจ มันจักกล่าวเถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้ พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองได้ยินเรียกเมือถาม สวนความแก่มันโดยซื่อ ไพร่ในเมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม” 













กระดิ่งร้องทุกข์ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ที่มาภาพ  http://www.teepucks.com/webboard/index.php?topic=555.0


ในสมัยอยุธยา  มีการเปลี่ยนแปลงจากสั่นกระดิ่งมาเป็นการตีกลอง (สารานุกรมประวัติศาสตร์ไทย สำนักพิมพ์คำ พิมพ์ครั้งที่ 8 พ.ศ.2553ส.พลายน้อย)




            แต่ในความเป็นจริง ราษฎรไม่กล้าเข้าไปตีกลองนัก มักจะหาโอกาสถวายฎีกาตอนพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินนอกพระราชวัง และมีลูกขุน ณ ศาลหลวงทำหน้าที่พิพากษาคดี การตีกลองร้องฎีกาจึงขาดหายไประยะหนึ่ง (กิเลน ประลองเชิง)






ในช่วงรัชกาลที่ 1 - 2    ในเรื่องการร้องทุกข์นั้นยังเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย คือราษฎรจะร้องถวายฎีกาได้ก็ต่อเมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกนอกพระราชวังเท่านั้น (พระราชพงศาวดารฉบับเจ้าพระยาธิพากรวงศ์)  


 ที่มาภาพ : http://www.u-toseen.com/thaihis/warrama3.htm



ที่มาภาพ : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=littlebylittle&group=5&month=05-2013&date=22



       มีกลองในลักษณะที่คล้ายคลึงกับกลองวินิจฉัยเภรี แต่มีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันคือ กลองพิฆาตไพรี ใช้แจ้งตีให้ทราบว่ามีสงคราม กลองอัคคีพินาศ ใช้ตีเพื่อแจ้งเหตุไฟไหม้ และกลองย่ำพระสุรีย์ศรี ใช้ตีเพื่อบอกเวลา    (HolidayThai.com)


ในสมัยรัชกาลที่ 3  ได้มีการสร้างกลองวินิจฉัยเภรีขึ้น โดยสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) เมื่อพ.ศ.2380 เพื่อใช้ในการร้องทุกข์  

              โดยจัดให้ตั้งกลองอยู่ ณ ทิมดาบกรมวัง ในพระบรมมหาราชวัง มีการทำกุญแจปิดลั่นไว้ เวลามีผู้ต้องการจะถวายฎีกา เจ้าหน้าที่กรมวังจะไปไขกุญแจ ให้ราษฎรตีกลองร้องถวายฎีกา นำความขึ้นกราบบังคมทูล แล้วจึงมีพระราชโองการจัดส่งฎีกาที่ราษฎรร้องทุกข์ต่อไป (อิสริยา เลาหตีรานนท์)





ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีผู้ที่ถวายฎีกาได้รับความยากลำบาก เนื่องจากต้องเสียค่าไขกุญแจให้แก่เจ้าหน้าที่ จึงมีพระกระแสรับสั่งให้เลิกตี แล้วประกาศว่า ต่อไปจะเสด็จออกรับฎีกา ณ พระที่  นั่งสุทไธสวรรย์  เมื่อเวลาจะเสด็จออก ให้ตีกลองวินิจฉัยเภรี 
                เรียกผู้ที่จะถวายฎีกามาชุมนุมกันหน้าพระที่นั่ง 
  เมื่อราษฎรได้ทราบวันและเวลาเสด็จออกทั่วกันแล้ว จึงเก็บกลอง
ไว้ในหอกลองที่ทรงสร้างขึ้นข้างป้อมสิงขรขัณฑ์ ริมประตูเทวา
พิทักษ์ พระบรมหาราชวัง


ในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพยายามริเริ่ม

ปฏิรูปการศาลให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งศาลรับสั่ง ขึ้นตรงต่อพระองค์  เพื่อพิจารณาคดีความที่อยู่ในกรมพระนครบาล กรมมหาดไทย และกรมท่า 

               นอกจากนี้ยังทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงยุติธรรมในพ.ศ.2435 เพื่อพิจารณาคดีอาญาและคดีแพ่งตามแบบตะวันตก(panuwatk409)        


ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีการปรับปรุงกฎหมายและการศาล โดยแบ่งงานในกระทรวงยุติธรรมเป็น 2 ฝ่ายคือ ฝ่ายธุรการ และฝ่ายตุลาการ เป็นครั้งแรกที่มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 




             นอกจากนี้ยังโปรดฯให้ตั้งสภานิติศึกษา มีหน้าที่จัดระเบียบและวางหลักสูตรการศึกษาของโรงเรียนกฎหมาย(หอจดหมายเหตุอัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯ)






 ในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีประกาศใช้พระราชบัญญัติข้าราชการฝ่ายตุลาการ 


           เพื่อปรับปรุงแก้ไขระเบียบราชการตุลาการให้เหมาะสมแก่กาลสมัย ส่งเสริมสมรรถภาพของผู้พิพากษา ตลอดจนการกวดขันในเรื่องวินัยและมารยาท เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเที่ยงธรรมและความเชื่อถือศรัทธาของประชาชนในราชการศาลยุติธรรม 



            มีประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม แบ่งศาลออกเป็น 3 ชั้น คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา  โดยศาลชั้นต้นจะแบ่งเป็นศาลในกรุงเทพฯและศาลในหัวเมือง(กระทรวงยุติธรรม)  


       

                                                     
วิกฤติกาลทางการศาลก่อนการปฏิรูประบบกฎหมายและการศาลฯ
ที่มาภาพ  :  http://www.oursiam.net/content/index.php?st=1&pg=3

ในสมัยรัชกาลที่ 8 ไทยสามารถยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตได้อย่างเด็ดขาดและได้เอกสิทธิ์ทางการศาลอย่างสมบูรณ์ (หอจดหมายเหตุอัครสังฆมลฑลกรุงเทพฯ)

     

  

ในปัจจุบันนี้ ประชาชนจะใช้กระบวนการยุติธรรมในการร้องทุกข์(ร้องเรียน)หรือฟ้องคดี โดยผ่านศาลและองค์กรอิสระ  


        ซึ่งคือองค์กรที่ใช้หลักกฎหมายของรัฐเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบดูแลความยุติธรรม (ครูรัง:OknationBlog)



ระบบศาลไทย
ที่มาภาพ :  http://52011313428.blogspot.com/2012/05/blog-post_2043.html




"  จากที่กล่าวที่มาข้างต้น กลุ่ม B6 จึงประสงค์ที่จะศึกษาค้นคว้าเพื่อให้เข้าใจความเป็นมา ความเปลี่ยนแปลง และแนวโน้มความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของ ระบบการร้องทุกข์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น  "


วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.    เพื่อทราบถึงผลกระทบของระบบตุลาการที่มีต่อวิถีชีวิตของคนในสังคมไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสามารถคาดการณ์ถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
2.       เพื่อทราบถึงสภาพความเปลี่ยนแปลง และจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการร้องทุกข์ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
3.       เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ได้ศึกษาสู่สาธารณะโดยจัดทำผ่านทางสื่อออนไลน์


 สมมติฐานโครงงาน


      โครงงานเรื่อง การร้องทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทางคณะได้เสนอสมมติฐานไว้ดังนี้ 
     1. การอยู่ภายใต้ระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมาอย่างยาวนาน ทำให้ประชาชนไทยส่วนใหญ่พึ่งพาชนชั้นปกครองโดยไม่พยายามแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ด้วยตนเอง
          2. ช่องทางการร้องทุกข์ร้องเรียนที่มากขึ้น ส่งผลให้ปัญหาต่าง ๆ ในประเทศมีอัตราการเพิ่มที่ลดลง


 ขอบเขตการค้นคว้า
      โครงงานเรื่อง การร้องทุกข์กับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย ทางคณะได้เขียนขอบเขตการค้นคว้าไว้ดังนี้ 
1. โครงงานนี้ศึกษาเกี่ยวกับการร้องทุกข์ร้องเรียนเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ศึกษาเกี่ยวกับการฟ้องร้องและกระบวนการศาล
2.  โครงงานนี้ศึกษาการร้องทุกข์ร้องเรียนในเชิงสังคมเท่านั้น ไม่รวมถึงการบัญญัติข้อบังคับหรือหลักกฎหมาย
3. โครงงานนี้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลการร้องเรียนทั้งภาครัฐและประชาชน ครอบคลุมถึงองค์กรอิสระ และองค์กรสาธารณประโยชน์
4. โครงงานนี้ดำเนินการระหว่างเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายน ปี พ.ศ.2559


 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เข้าใจถึงผลกระทบของระบบตุลาการที่มีต่อวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละยุคสมัย และสามารถวิเคราะห์ได้ถึงแนวโน้มของผลกระทบในอนาคต
2. ทราบถึงสภาพการเปลี่ยนแปลงและจุดเปลี่ยนที่สำคัญของการร้องทุกข์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันรวมทั้งสามารถคาดการณ์รูปแบบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

3. สื่อออนไลน์ที่เผยแพร่ได้รับความสนใจและมีผลตอบรับในเชิงบวก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น