สรุป
การที่มนุษย์อยู่รวมกันเป็นสังคม ไม่ว่ากลุ่มเล็กหรือกลุ่มใหญ่ ย่อมมีปัญหา ความทุกข์ ความขัดแย้งเกิดขึ้น และเมื่อไม่สามารถตัดสิน แก้ไข หรือจัดการกับปัญหาเหล่านั้นได้แล้ว จึงจำเป็นต้อง“บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ” และนั่นคือการร้องทุกข์
ระบบการร้องทุกข์ไทยนั้นมีมาอย่างยาวนาน เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ดำเนินควบคู่ไปกับระบบการปกครอง จึงเป็นเรื่องที่ใกล้ตัว เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยอุปนิสัยดั้งเดิมของคนไทยที่รักความสบายและพยายามหลีกเลี่ยงปัญหา จึงมักจะร้องทุกข์เมื่อเรื่องหนึ่งๆนั้น ดำเนินไปถึงที่สุด กล่าวคือ ไม่สามารถทนต่อไปได้ แต่ในปัจจุบัน ด้วยระบบการปกครองที่เปลี่ยนไป ประชาชนมีและรับรู้ถึงสิทธิเสรีภาพมากขึ้น สังคมที่ขยายตัวและละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น การศึกษาที่พัฒนา ช่องทางการร้องทุกข์ที่มากขึ้น ฯลฯ ทำให้การร้องทุกข์เรียกได้ว่า “เป็นที่นิยม” ในสังคมปัจจุบัน
อย่างไรก็ดี ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการร้องทุกข์ส่วนใหญ่ยังเป็นปัญหาที่สามารถแก้ไขได้ยากด้วยปัจจัยต่างๆ รวมทั้งเป็นปัญหาที่ประชาชนรับรู้แต่เพิกเฉยมานานไม่ต่างจากในอดีตมากนัก ทั้งนี้ ด้วยช่องทางที่มากขึ้น จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราการร้องทุกข์โดยรวมที่มากขึ้นในทุกๆปี ซึ่งอาจสื่อถึงปัญหาต่างๆได้รับการแก้ไขในอัตราที่มากขึ้นเช่นกัน ส่งผลให้ปริมาณของปัญหามีอัตราเพิ่มขึ้นที่ลดลง และอาจอนุมานได้ว่า “วิถีชีวิตของคนไทยได้รับการพัฒนาไปพร้อมๆกับสังคม ระบบการปกครอง และระบบการร้องทุกข์ไทย”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น